วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2557

สติกเกอร์คืออะไร

สติกเกอร์คืออะไร


die‑cut‑sticker
สติกเกอร์
คุณทราบหรือไม่ สติกเกอร์ที่เราใช้ทุกวันนี้ มีกี่ประเภท ?
ปัจจุบัน สติกเกอร์ที่เราใช้กันส่วนมากจะแยกประเภทออกดังต่อไปนี้
1. สติกเกอร์ประเภท กระดาษ
2. สติกเกอร์ขาวเงา (CCP)
3. สติกเกอร์ขาวด้าน (UCP)
4. สติกเกอร์กึ่งมันกึ่งด้าน (CP)
5. สติกเกอร์ประเภท ฟิล์ม เช่น
6. สติกเกอร์PVC ซึ่งจะแยกชนิดออกได้ดังนี้คือ PVCใส และ PVC ขุ่น
7. สติกเกอร์PP ซึ่งแยกชนิดออกได้ดังนี้คือ PPขาวเงา และ PPขาวด้าน
สติกเกอร์ Yupo
ป้ายสติกเกอร์, เปิดร้านตัดสติกเกอร์, อยากตัดสติกเกอร์ขาย, แนะนำธุรกิจตัดสติกเกอร์, ธุรกิจแต่งรถด้วยเครื่องตัดสติกเกอร์, เปิดร้านตัดสติกเกอร์, สนใจเปิดร้านตัดสติกเกอร์, เปิดร้านรับตัดสติกเกอร์, อบรมตัดสติ๊กเกอร์, ธุรกิจ ร้าน ตัด สติ๊กเกอร์, ขายเครื่องตัดสติกเกอร์คุณภาพสูง, ออกแบบตัดสติ๊กเกอร์,
ซึ่งสติ๊กเกอร์ชนิดนี้มีคุณสมบัติ พิเศษ คือ พื้นผิวหน้าของสติ๊กเกอร์สามารถกันน้ำได้ทำให้สติกเกอร์ไม่เปื่อยยุ่ย หรือ เปียกน้ำ สติกเกอร์ประเภทฟิล์มทั้งหมดที่แจ้งมานี้ จะมีคุณสมบัติพิเศษที่มากกว่าสติ๊กเกอร์ชนิดกระดาษคือ สามารถ
ทนความร้อน ความชื้น หรือความเย็นได้ดีกว่า (ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของฟิล์มแต่ละชนิด)
หลังจากที่เราได้ทราบรายละเอียดลักษณะของผิวสติ๊กเกอร์กันแล้ว ต่อไปเรามาดูในเรื่องของ กาวของสติกเกอร์กันบ้าง
โดยหลัก ๆ เนื้อกาวจะแบ่งประเภทออกดังต่อไปนี้
1. กาว P เหมาะสำหรับกาวงานทั่วไป
2. กาว S เหมาะสำหรับงานสติกเกอร์ที่ต้องการความเหนียวเป็นพิเศษ
3. กาว C เหมาะสำหรับสติกเกอร์ที่ใช้งานร่วมกับผลิตภัณฑ์ที่แช่อยู่ในห้องเย็น
4. กาว R (กาวรีมูฟเวเบิ้ล) สามารถลอกออกและติดใหม่ได้โดยไม่ทิ้งคราบกาวไว้บนพื้นผิว
5. กาว H กาวเหนียวพิเศษคุณภาพสูง มีคุณสมบัติในการติดบนพื้นผิวที่มีความหยาบถึงหยาบมาก
วิธีเลือกใช้สติกเกอร์
สติกเกอร์ในปัจจุบันมีให้เลือกใช้งานอย่างมากมาย ในที่นี้จะกล่าวเพียงแค่สติกเกอร์บางชนิดที่มีจำหน่าย และชนิดที่นิยมใช้กัน ในประเทศไทย หากจะเลือกใช้สติกเกอร์ได้ถูกกับงาน จำเป็นที่ต้องรู้และทำความเข้าใจ ทั้งในเรื่องของกาว และผิวหน้าของสติกเกอร์ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ชนิดของกาว
เครื่องตัดฉลากสินค้ายอดนิยม, สินค้าใหม่, นำเข้าจากอเมริกา, ตัดโมเดลการ์ตูน, ตัดโลโก้ติดสินค้า, ตัดฉลากสินค้าวงกลมรอบรูป, ตัดสติ๊กเกอร์แต่งรถ, แต่งรถมอไชต์ด้วยสติกเกอร์, ราคา เครื่อง ตัด สติ ก เกอร์, วิธี การ ตัด สติ ก เกอร์, การตัดสติกเกอร์, สั่งตัดด้วยโปรแกรมเฉพาะ, Shilouette studio, สั่งตัดสติกเกอร์ด้วยIllustrator, สินค้าขายดี, เครื่องตัดสติกเกอร์ที่มีคนซื้อมากที่สุด, ตัด popup การ์ด, เครื่องไดคัทตราสินค้า, ตัดสติกเกอร์แต่งรถยนต์,
1. กาว PERMANENT หากจะแปลตามตัวหนังสือภาษาอังกฤษแล้ว คงจะดูน่ากลัวไปหน่อย เพราะจะหมายถึงกาวถาวร
หรืออาจจะเข้าใจความหมายว่าติดแน่น ติดนาน ลอกไม่ออก แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ผลิตใช้ศัพท์คำนี้เพื่อแยกผลิตภัณท์ และ
การใช้งาน คำว่า PERMANENT คือกาวที่ใช้สำหรับงานที่มีอายุการใช้งานนาน อย่างน้อยต้องมากกว่า 1 ปี และหากจะลอกสติกเกอร์ออก ก็สามารถลอกออกได้ เพียงแต่กาวที่เคลือบกับสติกเกอร์ชนิดนี้มา จะติดอยู่บนชิ้นงานที่เราลอกสติกเกอร์ออกมา หากเราจะใช้ชิ้นงานนั้นเพื่องานโฆษณาชิ้นต่อไปก็ทำได้เช่นกัน แต่ต้องเสียเวลากำจัดเศษของกาวที่หลงเหลืออยู่บนชิ้นงานนั้นเสียก่อน
2. กาว REMOVABLE เช่นกันคือหลายท่านคิดว่ากาวชนิดนี้ความเหนียวจะน้อย ติดแล้วอาจจะหลุดล่อนออกมาได้ ในความเป็นจริงแล้ว กาวชนิดนี้จะมีความเหนียวน้อยกว่ากาวชนิดแรก แต่ใช่ว่าจะหลุดล่อนง่าย คุณสมบัติโดยทั่วไปก็เช่นเดียวกัน กับชนิดแรก เพียงแต่กาวชนิดนี้จะมีข้อดีตรงที่ว่า หากชิ้นงานที่ต้องติดสติกเกอร์เพื่องานโฆษณา จำเป็นที่ต้องใช้อยู่หลายๆ ครั้งกล่าวคือ ลอกแล้วติดใหม่อยู่เรื่อยๆ การเลือกใช้กาวชนิดนี้จะมีความเหมาะสม เพราะคราบกาวของสติกเกอร์เมื่อลอกออก จะไม่หลงเหลืออยู่บนชิ้นงาน หรือหากจะหลงเหลือก็เพียงแค่เล็กน้อย ดังนั้นจึงช่วยประหยัดเวลาของการทำงานได้มาก
3. กาวชนิดไม่เหนียวทันทีในระหว่างการติดตั้ง แต่จะเหนียวต่อเมื่อทิ้งไว้สักระยะหนึ่งสั้นๆ กาวชนิดนี้จะอยู่กับสติกเกอร์พีวีซี หน้าผลิตจากระบบ CAST ซึ่งจะขอกล่าวต่อไปภายหลัง กาวชนิดนี้จะนิยมใช้สำหรับพื้นผิวที่การทำงานค่อนข้างยาก จะต้องติดและลอกออกหลายครั้ง กว่าจะได้ภาพติดตรงตามตำแหน่งที่ต้องการ กาวชนิดนี้ จะมีความเหนียวพอให้สติกเกอร์ ติดกับชิ้นงานได้
ในช่วงแรกหากสติกเกอร์ติดได้ตรงตามตำแหน่งแล้ว และทิ้งไว้สักระยะหนึ่งสั้นๆ กาวชนิดนี้จะเปลี่ยนสภาพเป็นกาวทั้งสองชนิดข้างต้น (กาวชนิดนี้มีสองชนิดให้เลือก คือทั้ง REMOVABLE และ PERMANENT)
4. กาวชนิดสี โดยปกติแล้วกาวของสติกเกอร์จะใช้เป็นสีใส กล่าวคือไม่มีสี หากแต่ผู้ผลิตหลายรายก็ผลิตกาวเพิ่มขึ้นอีกสองสี คือสีดำ และสีขาว ซึ่งกาวทั้งสองสีที่ผลิตขึ้นมาก็เพื่อ ต้องการให้สติกเกอร์มีความทึบสูง ป้องกันสีที่วัสดุพิมพ์ทะลุผ่านเนื้อพีวีซีของสติกเกอร์ และจะทำให้ภาพที่พิมพ์ออกมาหมองไป
นอกจากกาวที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีกาวอีกหลายชนิดที่ผู้ผลิตคิดขึ้นมา เพื่อใช้ในวาระโอกาสที่แตกต่างกันไป
ชนิดของผิวหน้า
ตัดโมเดลการ์ตูน, ตัดโลโก้ติดสินค้า, ตัดฉลากสินค้าวงกลมรอบรูป, ตัดสติ๊กเกอร์แต่งรถ, แต่งรถมอไชต์ด้วยสติกเกอร์, ราคา เครื่อง ตัด สติ ก เกอร์, วิธี การ ตัด สติ ก เกอร์, การตัดสติกเกอร์, สั่งตัดด้วยโปรแกรมเฉพาะ, Shilouette studio, สั่งตัดสติกเกอร์ด้วยIllustrator,
ชนิดของผิวหน้าหากจะรวมสติกเกอร์ทุกชนิดแล้วคงต้องกล่าวกันอีกนาน ในที่นี้จะขอกล่าวเพียงสติกเกอร์สำหรับนำมาใช้กับงานพิมพ์ INKJET ที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปก็คงหนีไม่พ้นผิวหน้าที่เป็น พลาสติกชนิดพีวีซี ที่มีการผลิตที่แตกต่างกันในหลักใหญ่อยู่ 3 ประเภทดังนี้
1. ผลิตด้วยกระบวนการผลิตชนิด MONOMERIC CALENDERED FILM ผิวหน้าพีวีซี ชนิดนี้เป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป เนื่องจากราคาถูก และผลิตได้ง่าย ผิวหน้าชนิดนี้จะนำมาใช้กับงานทั่วไป ซึ่งจะใช้ติดบนชิ้นงานพื้นผิวราบไม่โค้งงอ หรือหากจะโค้งงอก็ไม่มากเกินไป และงานที่ใช้ก็จะเป็นงานโฆษณาในระยะสั้นเสียเป็นส่วนใหญ่
2. ผลิตด้วยกระบวนการผลิตชนิด POLYMERIC CALENDERED FILM ผิวหน้าชนิดนี้จะมีคุณสมบัติที่ดีกว่าผิวหน้าชนิดแรก ตรงที่พีวีซีหน้าสามารถโค้งงอเข้ารูปกับ zชิ้นงานได้มากว่าชนิดแรก ราคาจำหน่ายก็แพงกว่าเล็กน้อย ชิ้นงานที่เหมาะสมคือพื้นผิวที่ไม่เรียบเป็นลอน
3. ผลิตด้วยกระบวนการผลิตชนิด CAST FILM ผิวหน้าชนิดนี้ได้รับการยอมรับว่า เป็นชนิดที่ดีที่สุดของสติกเกอร์ในขณะนี้ เพราะพีวีซีสามารถเข้ารูปได้กับวัสดุทุกชนิด ไม่ว่าชิ้นงานนั้นจะมี องศาของการโค้งงอเท่าใด สติกเกอร์ในรุ่นนี้จะนิยมใช้กับงานโฆษณาที่มีอายุการใช้งานยาวนาน หรืองานโฆษณาที่ต้องการความสวยงามเป็นพิเศษ สติกเกอร์ชนิดนี้ราคาจำหน่ายค่อนข้างสูง
CR:http://www.iat.co.th/

วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

เทคนิคการเลือกใช้สีวงล้อสีในการทำงานศิลปะ สาขาทัศนศิลป
สีที่เป็นวัตถุ (pigment) แบ่งออกเป็น 
1. แม่สี หรือสีขั้นต้น (primary colours) มี 3 สี คือ สีเหลือง สีแดง และสีน้ำเงิน แม่สีทั้ง 3 สี เป็นสีที่ไม่สามารถผสมขึ้นมาได้ แต่สามารถผสมเข้าด้วยกันเป็นสีอื่น ๆ ได้ 
2. สีขั้นที่สอง (secondary colours) มี 3 สี เกิดจากการนำแม่สีทั้ง 3 มาผสมกันเข้าทีละคู่ก็จะได้สีออกมาดังนี้ 
สีเหลือง + สีแดง > สีส้ม 
สีเหลือง + สีน้ำเงิน > สีเขียว 
สีแดง + สีน้ำเงิน > สีม่วง 
3. สีขั้นที่สาม (tertiary colours) เป็นสีที่ได้จากการนำสีขั้นที่ 2 ผสมกับแม่สีทีละคู่ ก็จะได้สีเพิ่มขึ้นอีก 6 สี คือ ส้มเหลือง ส้มแดง เขียวเหลือง เขียวน้ำเงิน ม่วงแดง ม่วงน้ำเงิน 
4. สีกลาง (neutral colour) เป็นสีที่เกิดจากการนำเอาสีทุกสีผสมรวมกันเข้า หรือเอาแม่สีทั้ง 3 สี รวมกัน ก็จะได้สีกลาง ซึ่งเป็นสีเทาแก่ ๆ เกือบดำ 
{ ข้างบนเป็นสีจากธรรมชาติครับ แต่เราใช้ถ่ายภาพจะเป็น สีที่เป็นแสง (spectrum) เป็นสีที่เกิดจากการหักเหของแสง แม่สีจะเป็น RGBแต่หลักการคล้ายกันครับ }
วงล้อสี (colour wheel) 
จากสี 12 สี ในวงล้อจะแบ่งออกเป็น 2 วรรณะ คือ 
- วรรณะสีอุ่น (warm tone) ได้แก่ สีเหลือง (ครึ่งหนึ่ง) ส้มเหลือง ส้ม ส้มแดง แดง ม่วงแดง และม่วง (ครึ่งหนึ่ง) 
- วรรณะสีเย็น (cool tone) ได้แก่สีเหลือง (อีกครึ่งหนึ่ง) เขียวเหลือง เขียว เขียวน้ำเงินน้ำเงิน ม่วงน้ำเงินและม่วง (อีกครึ่งหนึ่ง) 
สำหรับสีเหลืองและสีม่วงนั้น เป็นสีที่อยู่ในวรรณะกลาง ๆ หากอยู่ในกลุ่มสีอุ่นก็จะอุ่นด้วย แต่ถ้าอยู่ในกลุ่มสีเย็นก็จะเย็นด้วย 
คู่สี (complementary colours) 
สีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงล้อสีจะเป็นคู่สีกัน ถ้านำมาวางเรียงกันจะให้ความสดใส ให้พลังความจัดของสีซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการตัดกันหรือขัดแย้งกันอย่างมาก คู่สีนี้จะเป็นสีที่ตัดกันอย่างแท้จริง (true contrast) การใช้สีที่ตัดกันจะต้องพิจารณาดังนี้ 
ปริมาณของสีที่เกิดจากการตัดกันจะต้องไม่เกิน 10% ของพื้นที่ทั้งหมดในภาพ 
การใช้สีตัดกันต้องมีสีใดสีหนึ่ง 80% และอีกสีหนึ่ง 20% โดยประมาณ 
ถ้าหากต้องใช้สีคู่ตัดกัน โดยมีเนื้อที่เท่า ๆ กัน จะต้องลดความเข้มของสี (intensityของสีใดสีหนึ่ง หรือทั้งสองสีลง
สีข้างเคียง (analogous colours) 
เป็นสีที่อยู่เคียงกันในวงล้อสี เช่น สีเหลืองกับส้มเหลือง สีทั้ง 2 จะดูกลมกลืนกัน (harmony) สีที่อยู่ห่างกันออกไป ความกลกลืนก็จะค่อย ๆ ลดลง ความขัดแย้ง หรือความตัดกันก็จะเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นคู่สี หรือสีตัดกันอย่างแท้จริงเมื่อห่างกันจนถึงจุดตรงข้ามกัน 
การใช้สี 
การใช้สีมีอยู่ 2 วิธี คือ การใช้สีให้กลมกลืน (harmony) หรือตัดกัน(contrast) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการใช้งาน แต่ละลักษณะ การใช้สีให้ดูกลมกลืนมากเกินไปก็จะจืดชืด น่าเบื่อ แต่ถ้าใช้สีตัดกันมากเกินไปก็จะเกิดการขัดแย้งสับสนได้ 
จิตวิทยาของสี (colour phychology)
คือการที่สีมีอิทธิพลต่อจิตใจของมนุษย์ 
- สีแดง สีแห่งการโฆษณาชวนเชื่อ ตื่นเต้น เร้าใจ 
- สีแดงอ่อน ความประณีต ความเยือกเย็น ความหวาน ความสุข 
- สีแดงเข้ม มีอุดมคติสูง ยิ่งใหญ่ สมบูรณ์ 
- สีชมพู สีแห่งความเป็นหนุ่มสาว สีแห่งความรัก ความมั่นใจ 
- สีน้ำเงิน สีแห่งความเชื่อมั่น หนักแน่น สุภาพ ถ่อมตน 
- สีฟ้าอ่อน สีที่าบรื่น ร่มเย็น 
- สีเหลือง สว่างสดใส ร่าเริง รู้สึกมีรสเปรี้ยว 
- สีแสด ตื่นตัวเร้าใจ สนุกสนาน 
- สีม่วง สีแห่งความผิดหวัง ไม่เชื่อมั่น ไม่แน่นอน เศร้า 
- สีเขียวอ่อน สดชื่น ร่าเริง เบิกบาน 
- สีเขียวแก่ เศร้า ชรา เบื่อหน่าย 
- สีดำ ทุกข์ เสียใจ 
- สีน้ำตาล อับทึบ 
- สีเทา เงียบสงัด ขรึม สุภาพ 
ที่มา อาจารย์โสภัทร นาสวัสดิ์ ความหมายของศิลปะ (Art)