วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Wood Board

ไม้อัด

เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเอาไม้แผ่นบางหรือวีเนียร์ (Veneer) โดยการตัดท่อนซุงให้มีความยาวตามที่่ต้องการ แล้วกลึงปอกท่อนซุงหรือผ่า ให้ได้แผ่นไม้เป็นแผ่นบางๆ หลายแผ่นมาอัดเข้าด้วยกัน โดยใช้กาวเป็นวัสดุยึดตรึง แผ่นไม้ที่นำมาอัดเข้าด้วยกันจะต้องวาง ในลักษณะที่แนวเสี้ยนขวางตั้งฉากซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในด้านความแข็งแรง ทั้งยังช่วยลดการขยายและหดตัวในแนวระนาบของแผ่นไม้ให้เหลือน้อยที่สุด จำนวนชั้นของแผ่นไม้จะต้องเป็นจำนวนคี่เสมอไป เพื่อให้เกิดความสมดุลและแนวเสี้ยนไปในทางเดียวกัน

ซึ่งจะมีจำนวนตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป นำไปผ่านการอัดด้วยความร้อน (Hot Press) เพื่อทำให้ไม้อัดเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งจากกระบวนการนี้จะทำให้แผ่นไม้อัดมีความหนาแน่นสูง กระบวนการผลิตไม้อัดที่ผ่านการอัดด้วยความร้อนและแรงดันนั้น นอกจากจะทำให้ความหนาแน่นของเนื้อไม้สูงกว่าไม้จริง (Solid) เป็นอย่างมากแล้ว ลวดลายบนผิวหน้าที่เป็นแผ่นใหญ่และต่อเนื่องของ Veneer ยังให้ความสวยงามอีกด้วย

ไม้ปาร์ติเกิ้ลบอร์ด

ปาร์ติเกิ้ลบอร์ด (Particleboard) หรือบางประเทศมีการเรียกว่า ชิปบอร์ด (Chipboard) เป็นไม้วิศวกรรมประเภทหนึ่ง สร้างมาจากเศษชิ้นไม้ เช่นชิปไม้ หรือแม้แต่ขี้เลื่อย มาประสานกันโดยสารเคมีและนำมาทำการบดอัดด้วยความดันสูง ปาร์ติเกิ้ลบอร์ดจัดเป็นไฟเบอร์บอร์ดชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับเอ็มดีเอฟ และฮาร์ดบอร์ด แต่ปาร์ติเกิ้ลบอร์ดมีส่วนประกอบจากชิ้นไม้ที่ใหญ่กว่า

ปาร์ติเกิ้ลบอร์ดเมื่อเปรียบเทียบกับไม้จริงและไม้อัด จะมีราคาที่ถูกกว่า ความหนาแน่นมากกว่า และมีเนื้อไม้ที่มีลักษณะเดียวกันทั้งชิ้น ขณะที่ความแข็งแรงของปาร์ติเกิ้ลบอร์ดจะน้อยกว่า โดยเมื่อนำมาใช้งานนิยมนำวีเนียร์มาติดเป็นผิวหน้าเพื่อแสดงลายไม้ หรือบางครั้งนิยมนำมาทาสีตกแต่ง

ปาร์ติเกิ้ลบอร์ดนั้น เป็นไม้ที่มีน้ำหนักเบาสุดในบรรดาไฟเบอร์บอร์ด ซึ่งความแข็งแรงก็น้อยกว่าเอ็มดีเอฟ และฮาร์ดวูด ข้อด้อยอีกอย่างของปาร์ติเกิ้ลบอร์ดคือ ตัวเนื้อไม้มีการขยายตัวได้ง่าย เนื่องจากความชื้นโดยเฉพาะไม้ที่ไม่ได้มีการ ทาสี หรือว่าเคลือบซีลเลอร์ อย่างไรก็ตามปาร์ติเกิ้ลบอร์ดนิยมนำมาใช้ในงานไม้ที่ใช้ในตัวอาคาร แทนที่งานภายนอกอาคารที่มีความชื้นสูง ปาร์ติเกิ้ลบอร์ดนำมาใช้ตามเคาน์เตอร์ นำมาใช้เป็นฉนวนมีขนาดตั้งแต่

ไม้อัดเฟอร์นิเจอร์

เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้อัด หรือ Veneer (Plywood furniture or Veneer wood furniture) หมายถึง เฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตขึ้นจากไม้ที่ผ่านการแปรรูปเป็นไม้อัดหรือ Veneer แล้วนำมาติดตั้งบนแผ่นไม้หรือโครงไม้อีกชั้นหนึ่ง ก่อนจะนำมาประกอบ หรือติดตั้งจนเป็นเฟอร์นิเจอร์ โดยทั่วไป คนส่วนใหญ่ มักจะคิดว่า เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้อัด หรือ Veneer จะมีความแข็งแรงน้อยกว่า ความสวยงามด้อยกว่าและราคาถูกกว่าเฟอร์นิเจอร์ไม้จริง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตขึ้นจากไม้อัดหรือ Veneer ที่ได้มาตราฐานการผลิตที่ดี และถูกต้องแล้ว จะมีความแข็งแรงมากกว่า และมีราคาที่แพงกว่า เฟอร์นิเจอร์ไม้จริงรวมทั้งเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้อัดหรือ Veneer นี้ ยังมีผิวหน้าหรือลวดลาย ที่สวยงามกว่าและสร้างสรรค์รูปแบบได้งดงามมากกว่า และหลากหลายกว่าเฟอร์นิเจอร์ไม้จริงอีกด้วย กระบวนการผลิต Veneer จะเริ่มจากการตัดลอกเยื่อไม้ออกเป็นแผ่นบางๆ รอบลำต้นของไม้ จากนั้น จะนำเอา Veneer ดังกล่าว มาผ่านกระบวนการเคมีเพื่อเพิ่มคุณสมบัติบางชนิด แล้วนำมาตัดออกเป็นแผ่นตามขนาดที่ต้องการ หากจะนำเอา Veneer ดังกล่าวมาทำเป็นไม้อัดเราจะต้องนำ Veneer ของไม้ที่มีราคาถูกมา รียงสลับแนวลายไม้กันไปมา ให้ได้ความหนาตามต้องการ เพื่อเป็นฐานล่าง และนำเอา Veneer ของไม้ที่ต้องการมาวางทับบนชั้นบนสุด จากนั้น จะนำไปผ่านการอัดด้วยความร้อน (Hot Press) เพื่อทำให้ไม้อัดเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งจากกระบวนการนี้ จะทำให้แผ่นไม้อัดมีความหนาแน่นที่สูงกว่าไม้จริง และไม้สังเคราะห์ประเภทอื่นๆ

ไม้อัด OSB

ไม้อัด OSB (Oriented Strand Board Wood) เป็นอีกนวัตกรรมของวัสดุก่อสร้างและตกแต่ง โครงสร้างหลักประกอบด้วยไม้สนหรือเศษไม้เนื้อแข็ง ซึ่งได้จากป่าปลูกเพื่อการพาณิชย์ นำมาตัดเป็นชิ้นเล็กๆบางๆ แล้ววางสลับกันไปมาหลายชั้นคล้ายๆกับการสานตะกร้า จากนั้นนำมาอัดกาวเรซินและเติมสารพิเศษ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติต่างๆ ให้กับเนื้อไม้ เช่น ใส่น้ำยากันปลวกและเชื้อราต่างๆ ทำให้มีความแข็งแรงกว่าไม้อัดทั่วไป

ปัจจุบันไม้อัด OSB มีให้เลือกใช้หลายชนิด ตามแต่วัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น ไม้อัดชนิดธรรมดา (ไม่อาบน้ำยากันปลวก ) ใช้ทำเป็นไม้ลังหรือพาร์เลต สำหรับวางสิ่งของหรือใช้ขนส่งสินค้าทั่วไป ไม้อัดชนิดกันปลวกและเชื้อรา สามารถใช้ทำโครงสร้างบ้านได้ทั้งหลัง แต่จะป้องกันปลวกหรือกันเชื้อราได้มากน้อยเพียงใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับน้ำยาที่ นำมาอาบเนื้อไม้ด้วย โดยผู้ผลิตจะทำสัญลักษณ์หรือแถบสีต่างๆ ไว้ที่ด้านข้างของแผ่นไม้ เพื่อบอกให้รู้ว่าเป็นไม้อัดชนิดใด เช่น ขอบสีเขียวเป็นไม้อัดชนิดธรรมดา ขอบสีแดงเข้มเป็นไม้อัดกันปลวกและเชื้อรา ทั้งนี้เราอาจสอบถามกับผู้จัดจำหน่ายได้โดยตรง

ไม้อัด OSB ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากยุโรปและประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยพื้นผิวที่ค่อนข้างหยาบและลวดลายของเศษไม้ที่ดูแปลกตา จึงเหมาะกับงานที่ต้องการให้ดูเป็นธรรมชาติ หรือดูดิบๆ แบบอุตสาหกรรม
http://www.pwood.co.th/know.php

ไม้อัดเคลือบฟิล์ม

  • ด้วยคุณสมบัติพิเศษ ผิวหน้าเคลือบฟิล์มกันน้ำ
  • อัดแน่นอัดแน่น แข็งแรง เน้นความสวยงาม
  • ผิวเรียบ แกะแบบออกง่าย คุณภาพคุ้มค่า
  • เหนือกว่าไม้อัดแบบทั่วไป ไม้อัดเคลือบฟิล์มดำมีขนาด 15 มิล 20 มิล
  • ใช้งานได้จริงประมาณ 10 กว่าครั้งได้สอบถามจากวิศวกรผู้ใช้งานจริง







Thank : http://www.pwood.co.th/know.php

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วัสดุยอดนิยมสำหรับเคาน์เตอร์ครัว

1.ครัวแบบ Custom made Build-in
เป็นชุดครัวที่ทำตามสั่ง คือทำทีละชุดเฉพาะแต่ละบ้านเท่านั้น มีข้อดีในแง่ที่ไม่เหมือนใคร และออกแบบได้ตามใจชอบ ข้อเสียคืออาจจะราคาแพงกว่าแบบ Knock Down เพราะต้องสั่งทำตามแบบทีละชิ้น
2.ครัวแบบ Knock Down Built-in
เป็นชุดครัวที่ถูกออกแบบจากดีไซน์เนอร์ที่เชี่ยวชาญทางด้านชุดครัวโดยตรง สามารถผลิดในลักษณะ Mass Production ได้ มีรูปแบบที่ค่อนข้างชัดเจน ประกอบด้วยตู้หลายๆ ตู้ มาประกอบกัน โดยแต่ละตู้ จะมีการออกแบบประโยชน์ใช้สอยไว้เฉพาะแต่ละตู้ วัสดุที่ใช้ในการผลิตชุดครัวแบบ Knock Down นิยมใช้ไม้อัดประสาน (Particle Board) เป็นโครงสร้างหลัก ส่วนวัสดุปิดผิวเป็น Hi-Pressure Laminated (HPL) ซึ่งจะมีความทนทานต่อสารเคมีและรอยขูดขีด

วัสดุยอดนิยมสำหรับเคาน์เตอร์ครัว
1.หินแกรนิต (Granite) หินแกรนิต แข็งแกร่งและทนทาน ทนกรด ด่าง ทนขีดข่วน ทนต่อทุกสภาพอากาศ ทนความร้อนได้ถึง 1200 องศาฟาเรนไฮท์ มีอัตราการซึมน้ำต่ำ หินแรกนิตมีความสวยงามและเสน่ห์ตามธรรมชาติ ดูแลรักษาง่าย มีรอยร้าวและบิ่นตามธรรมชาติ มีสี ลวดลายเส้น หรือ เป็นดอกตามธรรมชาติให้เลือกมากมายหลายแบบ ราคาไม่แพงมาก เป็นความหรูหรา สง่างาม ที่เอื้อมถึงได้ ข้อเสียอยู่ที่ยังมีการดูดซับน้ำมากกว่าวัสดุสังเคราะห์อื่นๆ หินแกรนิตมีแร่ละเอียด แข็ง ทำให้การยารอยต่อมักไม่ติด


2.หินสังเคราะห์ (Engineered Stone) มีส่วนผสมของแร่หินควอตซ์ แก้ว โพลิเมอร์เรซิ่นและสี คุณภาพสูงกว่า หินแกรนิตและหินอ่อนธรรมชาติ ทนการขีดข่วนมากกว่า ทนความร้อน ทนไฟ ทนกรดด่าง สารเคมี รูปทรงได้ขนาดราบเรียบดีกว่า ซึมน้ำน้อยกว่ามาก มีสี ลวดลาย คุณภาพให้เลือกมากกว่า ตอบโจทย์ในเรื่องของสุขอนามัยได้เป็นอย่างดี เนื่องจากไม่มีรูพรุนจึงไม่ก่อให้เกิดการสะสมของเชื้อ ข้อเสียอย่างเดียวเห็นจะเป็นราคาที่แพงกว่าหินธรรมชาติค่ะ


3.หินเทียม (Solid Surface) เป็นวัสดุที่ทำจากอะคริลิก มีทั้งแบบ 100% เช่น CORIAN ของอเมริกา และ STARON ของเกาหลี สามารถป้องกันรังสียูวีและมีอายุการใช้งานยาวนาน สีของพื้นผิวไม่เปลี่ยนแปลง  ทนความร้อน กรดและด่าง นิยมในการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และทางการแพทย์ และแบบที่มีส่วนผสมของอะคริลิกและโพลีเอสเตอร์ ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นในเรื่องความสวยงาม ความแข็งแรงคงทนใกล้เคียงกับพื้นผิววัสดุที่ผลิตขึ้นจากธรรมชาติ นอกจากนั้นหินเทียมยังมีสีสันให้เลือกมากมาย แต่ข้อเสียคืออาจเสียหายถ้าโดน
ความร้อนมากหรือรอยเลอะ และราคาแพง


4.กระเบื้องเซรามิค (Ceramic Tile) เป็นกระเบื้องดินเผาเคลือบเซรามิค มีข้อดีที่ดูแลรักษาง่าย ทำความสะอาดง่าย ทนความร้อนได้ดี มีหลายแบบหลายราคาให้เลือก จึงทำให้เป็นวัสดุที่หลายๆบ้านเลือกใช้ แต่ข้อเสียคือผิวจะไม่สม่ำเสมอ กระเบื้องอาจแตกหรือหลุดร่อนได้ คราบเปื้อนสามารถไปติดบริเวณยาแนว และจะมีราคาแพงมากถ้าสั่งทำตามแบบที่ดีไซน์เอง


5.ลามิเนต (Laminates) จัดว่าเป็น Top มาตรฐานที่ขายกับชุดครัวในท้องตลาดก็มีอยู่ด้วยกันหลายแบรนด์ โดยผู้ผลิตรายใหญ่ๆ ได้แก่ FORMICA, NEVAMAR และ WILSONART ซึ่งลามิเนตจะเป็นวัสดุพลาสติกที่มีสีสันหลากหลาย มีทั้งแบบลามิเนตติดกาวและแผ่น MDF Board เป็นท็อปสำเร็จรูปที่มีความหนาประมาณ 20-40 มิลลิเมตร ราคาย่อมเยา สามารถทำความสะอาดได้ง่ายและสามารถดัดโค้งเข้ารูปทรงได้ตามต้องการ มีหลายสีให้เลือก นอกจากนั้นยังเป็นที่นิยมมากในการทำตู้ชุดครัว แผ่นลามิเนตจะถูกตัดมาตามขนาดและเคลือบผิวมาก่อนจะติดตั้งเลย เหมือนเป็นวัสดุสำเร็จรูป ราคาจึงไม่แพง แต่ข้อเสียคือเมื่อมีรอยขูดขีดจะไม่สามารถซ่อมแซมได้ และเห็นร่องรอยชัดเจน จึงไม่ควรสับหรือทำอาหารบนพื้นผิวเพราะจะก่อให้เกิดรอยขีดข่วน และไม่ควรนำภาชนะร้อนๆ วางลงไปโดยตรง

 

6.ไม้ (Wood) ไม้เป็นวัสดุที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นและเป็นธรรมชาติ และสามารถทำผิวได้หลายแบบ ทำความสะอาดง่าย สามารถขัดและเชื่อมได้ตามต้องการ แต่วัสดุที่นำมาใช้เป็นท็อปเคาน์เตอร์ต้องเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความทนทานกว่าส่วนที่เป็นตู้ ข้อเสียของไม้คืออาจเป็นด่างดวงถ้าโดนน้ำและคราบอาหาร รอยขูดขีดต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ติดตั้ง


7.สเตนเลส สตีล (Stainless Steel) เป็นวัสดุที่มีความทนทานมาก จึงเหมาะกับครัวที่ใช้งานหนัก เช่นครัวในร้านอาหารที่ทำหารจริงจัง แต่ขณะเดียวกันก็ให้ความรู้สึกเรียบหรู เท่ จึงทำให้ปัจจุบันก็เป็นที่นิยมนำมาใช้ในบ้านที่ต้องการสไตล์แบบโมเดิร์น การเลือกท็อปเคาน์เตอร์ของห้องครัวด้วยสเตนเลส ปัจจุบันมีการพัฒนาขึ้นโดยมีการผสมผสานเรื่องของวัสดุต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยอาจใช้สเตนเลสผสมผสานเข้ากับหน้าบานกระจก หรือหน้าบานไม้ สเตนเลสสามารถทำผิวขัดได้หลายแบบ ทั้งผิวเรียบธรรมดา ลายขนแมว ที่มีการขัดลายเป็นเส้นๆ เป็นลักษณะคล้ายขนแมว และลายเส้นผม ที่มีลักษณะเป็นเส้นยาวๆ เรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ สเตนเลสมีข้อดีที่ทนความร้อน ดูแลรักษาง่าย ทำความสะอาดง่ายและสามารถสั่งทำตามแบบ ทำให้ชุดครัวดูสวยเนี้ยบ ไร้รอยต่อ แต่ข้อเสียคือราคาแพง การผลิตที่ยาก และอาจเป็นรอยขูดขีดแลรอยบุบได้ถ้าถูกกระแทก

 

8.หินสบู่ (Soapstone) เป็นหินที่มีส่วนประกอบของแร่ทัลค์ ที่ใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางนั่นแหละค่ะ ทำให้หินสบู่มีผิวที่เนียนเรียบ ตามปกติหินสบู่จะมีสีค่อนข้างเข้ม มักถูกใช้เป็นวัสดุในบ้านสมัยก่อน แต่ปัจจุบันก็นิยมมาใช้กับท็อปเคาน์เตอร์ และอ่างซิงค์ หินสบู่มีข้อดีที่ทนความร้อน คราบเปื้อน และกรด ด่างต่างๆ แต่ช้อเสียอยู่ที่การดูแลรักษาที่ยุ่งยากซักหน่อย คือต้องใช้น้ำมันที่มีส่วนผสมของน้ำแร่มาเช็ดทำความสะอาด เพื่อไม่ให้สีของหินเปลี่ยนไปตามเวลา นอกจากนี้ยังสามารถแตกร้าวได้ง่ายด้วย


9.หินอ่อน (Marble) หินอ่อนเป็นวัสดุที่แสดงถึงความหรูหรา สวยงาม ด้วยราคาที่แพงจึงไม่คอยเป็นที่นิยมในการนำมาใช้ทำชุดครัวทั้งชุด แต่จะใช้บางส่วน เช่น บริเวณเคาน์เตอร์ลอยตรงกลาง (Island Counter) หินอ่อนยังสามารถทนน้ำและความร้อนได้ดี แต่ต้องการการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพราะหินอ่อนเป็นคราบเปื้อนง่าย และยังเป็นรอยขูดขีดง่ายอีกด้วย

 

10.คอนกรีต (Concrete) เหมาะสำหรับเคาน์เตอร์ครัวที่มีรูปร่างเฉพาะ สั่งทำตามแบบได้เลย เป็นวัสดุที่ให้ความรู้สึกดิบและไม่เหมือนใคร และสามารถทำผิวตกแต่งได้หลายแบบ หรือทำสีก็ได้ อย่างที่หลายคนทราบว่าคอนกรีตเป็นวัสดุที่มีความทนทานมาก จึงทนความร้อนและรอยขีดข่วนได้ดี แต่ข้อเสียคือมีรูพรุน จึงอาจดูดน้ำ และอาจแตกร้าวได้ถ้าติดตั้งไม่ดี ราคาแพงถ้าแบบยาก

THANK : http://www.forfur.com/แต่งบ้าน/10วัสดุที่นิยมใช้สำหรับเคาน์เตอร์ครัว

วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558

แบบบ้านชั้นเดียว สวยแบบ Junk Style

http://www.homenayoo.com/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7-%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A-junk-style-%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88/

แบบบ้านชั้นเดียว สวยแบบ Junk Style 

 
สำหรับใครที่ไม่เคยได้ยินคำว่า Junk Style มาก่อนก็ต้องบอกเล่าให้ทราบกันก่อนว่า Junk Style นี่ไม่ใช่สไตล์ขยะ ๆ นะคะอย่าไปแปลกตรง ๆ  แต่คือการนำเอาการของที่ไม่ใช้แล้ว หรือกระทั่งของที่ชำรุดแล้ว ของเก่าแล้วมาตกแต่งผสมผสานกันเอง หรือผสมกับของแต่งบ้านใหม่ ๆ จนกลายเป็นบ้านที่มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำแบบใครค่ะ
 
บ้านแบบ Junk Syle ที่ทางเวปไซต์จะนำมาเสนอในวันนี้  เป็นบ้านชั้นเดียวที่จัดฟังค์ชั่นไว้อย่างครบถ้วน มี 1 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ   โครงสร้างบ้านเป็นไม้ยกใต้ถุนสูงจากพื้นเล็กน้อย  ตกแต่งด้วยไม้เก่าและแผ่นสังกะสีลอนหลากหลายแหล่งที่มา แต่ผสมกันได้อย่างลงตัว  หลังคาเป็นแผ่นสังกะสีที่เก่าจนสนิมบนแผ่นกลายเป็นงานอาร์ตสวย ๆ
 
การเสริมสีของประตูทางเข้าบ้านให้เป็นสีฟ้าสดใส ทำให้บ้านหลังนี้ไม่เป็นบ้านที่เก่าจนโทรม แต่ทำให้ดูออกว่าตั้งใจให้เป็นดีไซน์เก่า  ช่วงกลางของบ้านที่เป็นห้องรับแขกเปิดได้โล่งเพราะติดตั้งประตูกระจกเอาไว้รับแสงจากภายนอกได้เต็มที่  ภายในตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์หลากดีไซน์หลายที่มา  แต่ยังคงมีสภาพดีและสวยจนกลายเป็นจุดสนใจในบ้านเช่นโซฟาตัวยาวบุผ้าลายดอกสดใสสไตล์เรโทรที่เดี๋ยวนี้หาไม่ง่ายแล้ว
การตกแต่งภายในบ้านเลือกใช้ไม้เป็นหลักอีกเช่นกัน  พื้นไม้เป็นไม้ใหม่ที่มีลายสวยตามธรรมชาติ แต่ผนังภายในเลือกใช้ไม้ที่เก่าหลากสีสันมาจัดเรียงความแตกต่างจนกลายเป็นแพทเทิร์นสวย ๆ ที่ลงตัวกันได้ดีกับบ้านแบบ Junk Style นี้
สำหรับคนที่ชอบบ้านเก่า ๆ แบบนี้ไม่จำเป็นว่าต้องหาของเก่า ๆ มาแต่งบ้านเท่านั้น  แต่ยังสามารถให้ช่างทำสีให้ไม้เก่าได้ตามต้องการอีกด้วย ไม่ต้องเสียเวลาไปตระเวนหาไม้เก่าแต่อย่างใดนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ภาพถ่าย Reclaimed Space

วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2557

สติกเกอร์คืออะไร

สติกเกอร์คืออะไร


die‑cut‑sticker
สติกเกอร์
คุณทราบหรือไม่ สติกเกอร์ที่เราใช้ทุกวันนี้ มีกี่ประเภท ?
ปัจจุบัน สติกเกอร์ที่เราใช้กันส่วนมากจะแยกประเภทออกดังต่อไปนี้
1. สติกเกอร์ประเภท กระดาษ
2. สติกเกอร์ขาวเงา (CCP)
3. สติกเกอร์ขาวด้าน (UCP)
4. สติกเกอร์กึ่งมันกึ่งด้าน (CP)
5. สติกเกอร์ประเภท ฟิล์ม เช่น
6. สติกเกอร์PVC ซึ่งจะแยกชนิดออกได้ดังนี้คือ PVCใส และ PVC ขุ่น
7. สติกเกอร์PP ซึ่งแยกชนิดออกได้ดังนี้คือ PPขาวเงา และ PPขาวด้าน
สติกเกอร์ Yupo
ป้ายสติกเกอร์, เปิดร้านตัดสติกเกอร์, อยากตัดสติกเกอร์ขาย, แนะนำธุรกิจตัดสติกเกอร์, ธุรกิจแต่งรถด้วยเครื่องตัดสติกเกอร์, เปิดร้านตัดสติกเกอร์, สนใจเปิดร้านตัดสติกเกอร์, เปิดร้านรับตัดสติกเกอร์, อบรมตัดสติ๊กเกอร์, ธุรกิจ ร้าน ตัด สติ๊กเกอร์, ขายเครื่องตัดสติกเกอร์คุณภาพสูง, ออกแบบตัดสติ๊กเกอร์,
ซึ่งสติ๊กเกอร์ชนิดนี้มีคุณสมบัติ พิเศษ คือ พื้นผิวหน้าของสติ๊กเกอร์สามารถกันน้ำได้ทำให้สติกเกอร์ไม่เปื่อยยุ่ย หรือ เปียกน้ำ สติกเกอร์ประเภทฟิล์มทั้งหมดที่แจ้งมานี้ จะมีคุณสมบัติพิเศษที่มากกว่าสติ๊กเกอร์ชนิดกระดาษคือ สามารถ
ทนความร้อน ความชื้น หรือความเย็นได้ดีกว่า (ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของฟิล์มแต่ละชนิด)
หลังจากที่เราได้ทราบรายละเอียดลักษณะของผิวสติ๊กเกอร์กันแล้ว ต่อไปเรามาดูในเรื่องของ กาวของสติกเกอร์กันบ้าง
โดยหลัก ๆ เนื้อกาวจะแบ่งประเภทออกดังต่อไปนี้
1. กาว P เหมาะสำหรับกาวงานทั่วไป
2. กาว S เหมาะสำหรับงานสติกเกอร์ที่ต้องการความเหนียวเป็นพิเศษ
3. กาว C เหมาะสำหรับสติกเกอร์ที่ใช้งานร่วมกับผลิตภัณฑ์ที่แช่อยู่ในห้องเย็น
4. กาว R (กาวรีมูฟเวเบิ้ล) สามารถลอกออกและติดใหม่ได้โดยไม่ทิ้งคราบกาวไว้บนพื้นผิว
5. กาว H กาวเหนียวพิเศษคุณภาพสูง มีคุณสมบัติในการติดบนพื้นผิวที่มีความหยาบถึงหยาบมาก
วิธีเลือกใช้สติกเกอร์
สติกเกอร์ในปัจจุบันมีให้เลือกใช้งานอย่างมากมาย ในที่นี้จะกล่าวเพียงแค่สติกเกอร์บางชนิดที่มีจำหน่าย และชนิดที่นิยมใช้กัน ในประเทศไทย หากจะเลือกใช้สติกเกอร์ได้ถูกกับงาน จำเป็นที่ต้องรู้และทำความเข้าใจ ทั้งในเรื่องของกาว และผิวหน้าของสติกเกอร์ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ชนิดของกาว
เครื่องตัดฉลากสินค้ายอดนิยม, สินค้าใหม่, นำเข้าจากอเมริกา, ตัดโมเดลการ์ตูน, ตัดโลโก้ติดสินค้า, ตัดฉลากสินค้าวงกลมรอบรูป, ตัดสติ๊กเกอร์แต่งรถ, แต่งรถมอไชต์ด้วยสติกเกอร์, ราคา เครื่อง ตัด สติ ก เกอร์, วิธี การ ตัด สติ ก เกอร์, การตัดสติกเกอร์, สั่งตัดด้วยโปรแกรมเฉพาะ, Shilouette studio, สั่งตัดสติกเกอร์ด้วยIllustrator, สินค้าขายดี, เครื่องตัดสติกเกอร์ที่มีคนซื้อมากที่สุด, ตัด popup การ์ด, เครื่องไดคัทตราสินค้า, ตัดสติกเกอร์แต่งรถยนต์,
1. กาว PERMANENT หากจะแปลตามตัวหนังสือภาษาอังกฤษแล้ว คงจะดูน่ากลัวไปหน่อย เพราะจะหมายถึงกาวถาวร
หรืออาจจะเข้าใจความหมายว่าติดแน่น ติดนาน ลอกไม่ออก แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ผลิตใช้ศัพท์คำนี้เพื่อแยกผลิตภัณท์ และ
การใช้งาน คำว่า PERMANENT คือกาวที่ใช้สำหรับงานที่มีอายุการใช้งานนาน อย่างน้อยต้องมากกว่า 1 ปี และหากจะลอกสติกเกอร์ออก ก็สามารถลอกออกได้ เพียงแต่กาวที่เคลือบกับสติกเกอร์ชนิดนี้มา จะติดอยู่บนชิ้นงานที่เราลอกสติกเกอร์ออกมา หากเราจะใช้ชิ้นงานนั้นเพื่องานโฆษณาชิ้นต่อไปก็ทำได้เช่นกัน แต่ต้องเสียเวลากำจัดเศษของกาวที่หลงเหลืออยู่บนชิ้นงานนั้นเสียก่อน
2. กาว REMOVABLE เช่นกันคือหลายท่านคิดว่ากาวชนิดนี้ความเหนียวจะน้อย ติดแล้วอาจจะหลุดล่อนออกมาได้ ในความเป็นจริงแล้ว กาวชนิดนี้จะมีความเหนียวน้อยกว่ากาวชนิดแรก แต่ใช่ว่าจะหลุดล่อนง่าย คุณสมบัติโดยทั่วไปก็เช่นเดียวกัน กับชนิดแรก เพียงแต่กาวชนิดนี้จะมีข้อดีตรงที่ว่า หากชิ้นงานที่ต้องติดสติกเกอร์เพื่องานโฆษณา จำเป็นที่ต้องใช้อยู่หลายๆ ครั้งกล่าวคือ ลอกแล้วติดใหม่อยู่เรื่อยๆ การเลือกใช้กาวชนิดนี้จะมีความเหมาะสม เพราะคราบกาวของสติกเกอร์เมื่อลอกออก จะไม่หลงเหลืออยู่บนชิ้นงาน หรือหากจะหลงเหลือก็เพียงแค่เล็กน้อย ดังนั้นจึงช่วยประหยัดเวลาของการทำงานได้มาก
3. กาวชนิดไม่เหนียวทันทีในระหว่างการติดตั้ง แต่จะเหนียวต่อเมื่อทิ้งไว้สักระยะหนึ่งสั้นๆ กาวชนิดนี้จะอยู่กับสติกเกอร์พีวีซี หน้าผลิตจากระบบ CAST ซึ่งจะขอกล่าวต่อไปภายหลัง กาวชนิดนี้จะนิยมใช้สำหรับพื้นผิวที่การทำงานค่อนข้างยาก จะต้องติดและลอกออกหลายครั้ง กว่าจะได้ภาพติดตรงตามตำแหน่งที่ต้องการ กาวชนิดนี้ จะมีความเหนียวพอให้สติกเกอร์ ติดกับชิ้นงานได้
ในช่วงแรกหากสติกเกอร์ติดได้ตรงตามตำแหน่งแล้ว และทิ้งไว้สักระยะหนึ่งสั้นๆ กาวชนิดนี้จะเปลี่ยนสภาพเป็นกาวทั้งสองชนิดข้างต้น (กาวชนิดนี้มีสองชนิดให้เลือก คือทั้ง REMOVABLE และ PERMANENT)
4. กาวชนิดสี โดยปกติแล้วกาวของสติกเกอร์จะใช้เป็นสีใส กล่าวคือไม่มีสี หากแต่ผู้ผลิตหลายรายก็ผลิตกาวเพิ่มขึ้นอีกสองสี คือสีดำ และสีขาว ซึ่งกาวทั้งสองสีที่ผลิตขึ้นมาก็เพื่อ ต้องการให้สติกเกอร์มีความทึบสูง ป้องกันสีที่วัสดุพิมพ์ทะลุผ่านเนื้อพีวีซีของสติกเกอร์ และจะทำให้ภาพที่พิมพ์ออกมาหมองไป
นอกจากกาวที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีกาวอีกหลายชนิดที่ผู้ผลิตคิดขึ้นมา เพื่อใช้ในวาระโอกาสที่แตกต่างกันไป
ชนิดของผิวหน้า
ตัดโมเดลการ์ตูน, ตัดโลโก้ติดสินค้า, ตัดฉลากสินค้าวงกลมรอบรูป, ตัดสติ๊กเกอร์แต่งรถ, แต่งรถมอไชต์ด้วยสติกเกอร์, ราคา เครื่อง ตัด สติ ก เกอร์, วิธี การ ตัด สติ ก เกอร์, การตัดสติกเกอร์, สั่งตัดด้วยโปรแกรมเฉพาะ, Shilouette studio, สั่งตัดสติกเกอร์ด้วยIllustrator,
ชนิดของผิวหน้าหากจะรวมสติกเกอร์ทุกชนิดแล้วคงต้องกล่าวกันอีกนาน ในที่นี้จะขอกล่าวเพียงสติกเกอร์สำหรับนำมาใช้กับงานพิมพ์ INKJET ที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปก็คงหนีไม่พ้นผิวหน้าที่เป็น พลาสติกชนิดพีวีซี ที่มีการผลิตที่แตกต่างกันในหลักใหญ่อยู่ 3 ประเภทดังนี้
1. ผลิตด้วยกระบวนการผลิตชนิด MONOMERIC CALENDERED FILM ผิวหน้าพีวีซี ชนิดนี้เป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป เนื่องจากราคาถูก และผลิตได้ง่าย ผิวหน้าชนิดนี้จะนำมาใช้กับงานทั่วไป ซึ่งจะใช้ติดบนชิ้นงานพื้นผิวราบไม่โค้งงอ หรือหากจะโค้งงอก็ไม่มากเกินไป และงานที่ใช้ก็จะเป็นงานโฆษณาในระยะสั้นเสียเป็นส่วนใหญ่
2. ผลิตด้วยกระบวนการผลิตชนิด POLYMERIC CALENDERED FILM ผิวหน้าชนิดนี้จะมีคุณสมบัติที่ดีกว่าผิวหน้าชนิดแรก ตรงที่พีวีซีหน้าสามารถโค้งงอเข้ารูปกับ zชิ้นงานได้มากว่าชนิดแรก ราคาจำหน่ายก็แพงกว่าเล็กน้อย ชิ้นงานที่เหมาะสมคือพื้นผิวที่ไม่เรียบเป็นลอน
3. ผลิตด้วยกระบวนการผลิตชนิด CAST FILM ผิวหน้าชนิดนี้ได้รับการยอมรับว่า เป็นชนิดที่ดีที่สุดของสติกเกอร์ในขณะนี้ เพราะพีวีซีสามารถเข้ารูปได้กับวัสดุทุกชนิด ไม่ว่าชิ้นงานนั้นจะมี องศาของการโค้งงอเท่าใด สติกเกอร์ในรุ่นนี้จะนิยมใช้กับงานโฆษณาที่มีอายุการใช้งานยาวนาน หรืองานโฆษณาที่ต้องการความสวยงามเป็นพิเศษ สติกเกอร์ชนิดนี้ราคาจำหน่ายค่อนข้างสูง
CR:http://www.iat.co.th/

วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

เทคนิคการเลือกใช้สีวงล้อสีในการทำงานศิลปะ สาขาทัศนศิลป
สีที่เป็นวัตถุ (pigment) แบ่งออกเป็น 
1. แม่สี หรือสีขั้นต้น (primary colours) มี 3 สี คือ สีเหลือง สีแดง และสีน้ำเงิน แม่สีทั้ง 3 สี เป็นสีที่ไม่สามารถผสมขึ้นมาได้ แต่สามารถผสมเข้าด้วยกันเป็นสีอื่น ๆ ได้ 
2. สีขั้นที่สอง (secondary colours) มี 3 สี เกิดจากการนำแม่สีทั้ง 3 มาผสมกันเข้าทีละคู่ก็จะได้สีออกมาดังนี้ 
สีเหลือง + สีแดง > สีส้ม 
สีเหลือง + สีน้ำเงิน > สีเขียว 
สีแดง + สีน้ำเงิน > สีม่วง 
3. สีขั้นที่สาม (tertiary colours) เป็นสีที่ได้จากการนำสีขั้นที่ 2 ผสมกับแม่สีทีละคู่ ก็จะได้สีเพิ่มขึ้นอีก 6 สี คือ ส้มเหลือง ส้มแดง เขียวเหลือง เขียวน้ำเงิน ม่วงแดง ม่วงน้ำเงิน 
4. สีกลาง (neutral colour) เป็นสีที่เกิดจากการนำเอาสีทุกสีผสมรวมกันเข้า หรือเอาแม่สีทั้ง 3 สี รวมกัน ก็จะได้สีกลาง ซึ่งเป็นสีเทาแก่ ๆ เกือบดำ 
{ ข้างบนเป็นสีจากธรรมชาติครับ แต่เราใช้ถ่ายภาพจะเป็น สีที่เป็นแสง (spectrum) เป็นสีที่เกิดจากการหักเหของแสง แม่สีจะเป็น RGBแต่หลักการคล้ายกันครับ }
วงล้อสี (colour wheel) 
จากสี 12 สี ในวงล้อจะแบ่งออกเป็น 2 วรรณะ คือ 
- วรรณะสีอุ่น (warm tone) ได้แก่ สีเหลือง (ครึ่งหนึ่ง) ส้มเหลือง ส้ม ส้มแดง แดง ม่วงแดง และม่วง (ครึ่งหนึ่ง) 
- วรรณะสีเย็น (cool tone) ได้แก่สีเหลือง (อีกครึ่งหนึ่ง) เขียวเหลือง เขียว เขียวน้ำเงินน้ำเงิน ม่วงน้ำเงินและม่วง (อีกครึ่งหนึ่ง) 
สำหรับสีเหลืองและสีม่วงนั้น เป็นสีที่อยู่ในวรรณะกลาง ๆ หากอยู่ในกลุ่มสีอุ่นก็จะอุ่นด้วย แต่ถ้าอยู่ในกลุ่มสีเย็นก็จะเย็นด้วย 
คู่สี (complementary colours) 
สีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงล้อสีจะเป็นคู่สีกัน ถ้านำมาวางเรียงกันจะให้ความสดใส ให้พลังความจัดของสีซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการตัดกันหรือขัดแย้งกันอย่างมาก คู่สีนี้จะเป็นสีที่ตัดกันอย่างแท้จริง (true contrast) การใช้สีที่ตัดกันจะต้องพิจารณาดังนี้ 
ปริมาณของสีที่เกิดจากการตัดกันจะต้องไม่เกิน 10% ของพื้นที่ทั้งหมดในภาพ 
การใช้สีตัดกันต้องมีสีใดสีหนึ่ง 80% และอีกสีหนึ่ง 20% โดยประมาณ 
ถ้าหากต้องใช้สีคู่ตัดกัน โดยมีเนื้อที่เท่า ๆ กัน จะต้องลดความเข้มของสี (intensityของสีใดสีหนึ่ง หรือทั้งสองสีลง
สีข้างเคียง (analogous colours) 
เป็นสีที่อยู่เคียงกันในวงล้อสี เช่น สีเหลืองกับส้มเหลือง สีทั้ง 2 จะดูกลมกลืนกัน (harmony) สีที่อยู่ห่างกันออกไป ความกลกลืนก็จะค่อย ๆ ลดลง ความขัดแย้ง หรือความตัดกันก็จะเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นคู่สี หรือสีตัดกันอย่างแท้จริงเมื่อห่างกันจนถึงจุดตรงข้ามกัน 
การใช้สี 
การใช้สีมีอยู่ 2 วิธี คือ การใช้สีให้กลมกลืน (harmony) หรือตัดกัน(contrast) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการใช้งาน แต่ละลักษณะ การใช้สีให้ดูกลมกลืนมากเกินไปก็จะจืดชืด น่าเบื่อ แต่ถ้าใช้สีตัดกันมากเกินไปก็จะเกิดการขัดแย้งสับสนได้ 
จิตวิทยาของสี (colour phychology)
คือการที่สีมีอิทธิพลต่อจิตใจของมนุษย์ 
- สีแดง สีแห่งการโฆษณาชวนเชื่อ ตื่นเต้น เร้าใจ 
- สีแดงอ่อน ความประณีต ความเยือกเย็น ความหวาน ความสุข 
- สีแดงเข้ม มีอุดมคติสูง ยิ่งใหญ่ สมบูรณ์ 
- สีชมพู สีแห่งความเป็นหนุ่มสาว สีแห่งความรัก ความมั่นใจ 
- สีน้ำเงิน สีแห่งความเชื่อมั่น หนักแน่น สุภาพ ถ่อมตน 
- สีฟ้าอ่อน สีที่าบรื่น ร่มเย็น 
- สีเหลือง สว่างสดใส ร่าเริง รู้สึกมีรสเปรี้ยว 
- สีแสด ตื่นตัวเร้าใจ สนุกสนาน 
- สีม่วง สีแห่งความผิดหวัง ไม่เชื่อมั่น ไม่แน่นอน เศร้า 
- สีเขียวอ่อน สดชื่น ร่าเริง เบิกบาน 
- สีเขียวแก่ เศร้า ชรา เบื่อหน่าย 
- สีดำ ทุกข์ เสียใจ 
- สีน้ำตาล อับทึบ 
- สีเทา เงียบสงัด ขรึม สุภาพ 
ที่มา อาจารย์โสภัทร นาสวัสดิ์ ความหมายของศิลปะ (Art)

วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สแตนเลส(Stainless)

สแตนเลส หรือ ตามศัพท์บัญญัติเรียกว่า เหล็กกล้าไร้สนิม เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำ(น้อยกว่า 2%)ของน้ำหนัก มีส่วนผสมของโครเมียม อย่างน้อย 10.5% กำเนิดขึ้นในปี พ.ศ.1903 เมื่อนักวิทยาศาสตร์พบว่า การเติมนิเกิล โมบิดินัม ไททาเนียม ไนโอเนียม หรือโลหะอื่นแตกต่างกันไปตามชนิด ของคุณสมบัติเชิงกล และการใช้ลงในเหล็กกล้าธรรมดา ทำให้เหล็กกล้ามีความต้านทานการเกิดสนิมได้ 


ประเภทของสแตนเลส
  • เกรด ออสเตนิติก (Austenitic) แม่ เหล็ดดูดไม่ติด นอกจากส่วนผสมของโครเมียม 18%แล้ว ยังมีนิเกิลที่ช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนอีกด้วย ชนิดออสเตนิติกเป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางมากที่สุด ในบรรดาสแตนเลสด้วยกัน ส่วนออสเตนิติกที่มีโครเมียมผสมอยู่สูง 20% ถึง 25% และนิกเกิล 1%ถึง 20% จะสามารถทนการเกิดออกซิไดซ์ได้ที่อุณหภูมิสูง ซึ่งใช้ในส่วนประกอบของเตาหลอม ท่อนำความร้อน และแผ่นกันความาร้อนในเครื่องยนต์ จะเรียกว่า เหล็กกล้าไร้สนิม ชนิดทนความร้อน (Heat Resisting Steel)
  • เกรดเฟอร์ริติก (Ferritic) แม่เหล็กดูดติด มีส่วนผสมของคาร์บอนต่ำ และมีโครเมียมเป็นส่วนผสมหลัก คือประมาณ 13% หรือ 17%
  • เกรดมาร์เทนซิติก (Martensitic) แม่ เหล็กดูดติด โดยทั่วไปจะมีโครเมียมผสมอยู่ 12%และมีส่วนผสมของคาร์บอนในระดับปานกลาง มักนำไปใช้ทำส้อม มีด เครื่องมือตัด และเครื่องมือวิศวกรอื่นๆ ซึ่งต้องการคุณสมบัติเด่นในด้าน การต้านทานการสึกกร่อน และ ความแข็งแรงทนทาน
  • เกรดดูเพล็กซ์ (Duplex) แม่เหล็กดูดติด มีโครงสร้างผสมระหว่างเฟอร์ไรต์และออสเตไนต์ มีโครเมียมผสมอยู่ประมาณ 18-28% และนิเกิล 4.5-8% เหล็กชนิดนี้มักถูกนำไปใช้งานที่มีคลอรีนสูงเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกัด กร่อนแบบรูเข็ม (Pitting corrosion) และช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน ที่เป็นรอยร้าวอันเนื่องมาจากแรงกดดัน (Stress corrosion cracking resistance) เหล็กกล้าชุบแข็งแบบตกผลึก (Precipitation Hardening Steel) มีโครเมียมผสมอยู่ 17 % และมีนิเกิล ทองแดง และไนโอเบียมผสมอยู่ด้วย เนื่องจากเหล็กชนิดนี้สามารถชุบแข็งได้ในคราวเดียว จึงเหมาะสำหรับทำแกน ปั้ม หัววาล์ว และส่วนประกอบของอากาศยาน สแตนเลส สตีล ที่นิยมใช้ทั่วไปคือ ออสเตนิก และเฟอร์ริติก ซึ่งคิดเป็น 95%ของเหล็กกล้าไร้สนิม ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
สแตนเลสสำเร็จรูป
  • สแตนเลสเส้น (Stainless Bar)
  • สแตนเลสเส้นกลม (Stainless Round Bar)
  • สแตนเลสเส้นสี่เหลี่ยม (Stainless Square Bar)
  • สแตนเลสเส้นหกเหลี่ยม (Stainless Hexagon Bar)
  • สแตนเลสเส้นฉาก (Stainless Angle)
  • เส้นแบน (Stainless Flat Bar)
  • แผ่น (Stainless Sheet) No. 304, 316L, 430
  • สแตนเลสแผ่นเรียบ (Stainless steal sheet)
  • สแตนเลสแผ่นลายกันลื่น Checker plate stainless steel
  • สแตนเลสแผ่นเจาะรู
  • แป๊ปสแตนเลส (Stainless Pipe) No. 304, 316L, 420
  • แป๊ปสแตนเลสเงา (Stainless steal solid pipe)
  • แป๊ปสแตนเลสด้าน (Stainless steel pipe ASTM)
  • แป๊ปสแตนเลสด้านมีตะเข็บ
  • แป๊ปสแตนเลสด้านไม่มีตะเข็บ (Seamless stainless pipe)
  • แป๊ปสแตนเลสกลม (Round stainless pipe)
  • แป๊ปสแตนเลสสี่เหลี่ยม (Square stainless steal pipe)
คุณสมบัติทางกายภาพของสแตนเลส
คุณสมบัติทางกายภาพของ สแตนเลส เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุประเภทอื่น ค่าที่แสดงในตารางที่1 เป็นเพียงค่าประมาณ เนื่องจากการเปรียบเทียบทำได้ยาก ค่าความหนาแน่นสูงของสแตนเลสแตกต่างจากวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด ในส่วนของคุณสมบัติเกี่ยวกับความร้อนความสามารถ ทนความร้อนของสแตนเลส มีข้อสังเกต 3 ประการคือ
  • การที่มีจุดหลอมเหลวสูง ทำให้มีอัตราความคืบดี เมื่อเทียบกับเซรามิก
ที่อุณหภูมิ ต่ำกว่า 1000 องศา
  • การที่มีค่านำความร้อนระดับปานกลาง ทำให้สแตนเลสเหมาะที่จะใช้ในงานที่ต้องทนความร้อน (คอนเทนเนอร์) หรือต้องการคุณสมบัตินำความร้อนได้ดี (เครื่องถ่ายความร้อน)
  • การมีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวระดับปานกลาง จึงสามารถใช้ความยาวมากๆได้ โดยใช้ตัวเชื่อมน้อย (เช่น ในการทำหลังคา)
คุณสมบัติเชิงกลของสแตนเลส
สแตนเลสโดยทั่วไปจะ มีส่วนผสมของเหล็กประมาณ 70-80% จึงทำให้มีคุณสมบัติของเหล็กที่สำคัญ 2 ประการคือ ความแข็งและความแกร่ง ในตารางที่ 2นี้ เป็นการเปรียบเทียบคุณสมบัติเชิงกลกับวัสดุชนิดอื่น จะเห็นได้ว่าพลาสติกซึ่งเป็นวัสดุที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางมีความแข็งแรง และโมดูลัส ความยืดหยุ่นต่ำ ส่วนเซรามิกมีความแข็งแรงและความเหนียวสูงแต่มีความแกร่งหรือความสามารถรับ แรงกระแทกโดยไม่แตกหักต่ำ สแตนเลสให้ค่า ที่เป็นกลางของทั้งความแข็ง ความแกร่ง และความเหนียว เรนื่องจากมีส่วนผสมของธาตุเหล็กอยุ่มาก และจะมีเพิ่มขึ้นอีกในชนิดออสเตนิติก และตารางที่ 3 จะแสดงให้เห็นค่าความแข็งแรงสูงสุด (Ultimate Tensile Strength) ของสแตนเลส ไม่ว่าจะชนิดที่อ่อนตัวง่าย ซึ่งสามารถทำให้ขึ้นรูปเย็นได้ดี เช่น การขึ้นรูปลึก (Deep Drawing) จนถึงชนิดความแข็งแรงสูงสุด ซึ่งได้จากการขึ้นรูปเย็นหรือการทำให้เย็นตัวโดยเร็ว (Quenching) หรือชนิดชุบแข็ง แบบตกผลึก (Preciptation Hardening) ซึ่งเหมาะใช้ทำสปริง
ประโยชน์ของการใช้งานสแตนเลส
  • ใช้ในสิ่งแวดล้อมที่กัดกร่อน (Corrosive Environment)
  • งานอุณหภูมิเย็นจัด ป้องกันการแตกเปราะ
  • ใช้งานอุณหภูมิสูง (High temperature)ป้องกันการเกิดคราบออกไซด์ (scale) และยังคงความแข็งแรง
  • มีความแข็งแรงสูงเมื่อเทียบกับมวล (High strength vs. mass)
  • งานที่ต้องการสุขอนามัย(Hygienic condition) ต้องการความสะอาดสูง
  • งานด้านสถาปัตยกรรม (Aesthetic appearance) ไม่เป็นสนิม ไม่ต้องทาสี
  • ไม่ปนเปื้อน (No contamiation) ป้องกันการทำ ปฏิกิริยากับสารเร่งปฏิกิริยา
  • ต้านทานการขัดถูแบบเปียก (Wet abrasion resistance)
การเลือกใช้หรือซื้อสแตนเลส
ผู้ซื้อหรือผู้ใช้ควรมีความรู้พื้นฐานสักเล็กน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้
  • ความรู้เกี่ยวกับวัสดุ - ความรู้จะช่วยการตัดสินใจไม่เกิดปัญหาผิดพลาดและประหยัดราคา
  • ความรู้เรื่องเกรดของวัสดุ- เลือกใช้เกรดวัสดุ ถูกต้อง ลดความเสี่ยง ช่วยลดหรือประหยัดจากการใช้วัสดุราคาแพงได้
  • ความรู้ในการออกแบบ- การออกแบบที่ดีจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการประกอบ
  • ความรู้ในการตกแต่งผิว- การตกแต่งผิวทำให้ดู สวยงามและมีราคาเพิ่มขึ้น
  • การประยุกต์ใช้ในงานตกแต่งหรืองานเครื่องใช้ภายในบ้าน- ใช้เป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้านจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงหรือแก้ไข
  • การใช้การวางแผนการผลิต - การวางแผนการผลิตจะช่วย ประหยัดค่าใช้จ่ายและเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์
วิธีทำความสะอาดสแตนเลส
  • รอยเปื้อน : รอยนิ้วมือ
    วิธีทำความสะอาด
    สแตนเลส : ล้างด้วยสบู่ ผงซักฟอก หรือสารทำละลาย เช่น แอลกอฮอล์ หรือ อะซีโตน ( Acetone) แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็นจนสะอาด จากนั้นเช็ดให้แห้ง
  • รอยเปื้อน : น้ำมัน คราบน้ำมัน 
    วิธีทำความสะอาด : ล้างด้วยสารละลายไฮโดรคาร์บอน / ออร์กานิก (เช่น แอลกอฮอล์) แล้วล้างออกด้วยสบู่ /ผงซักฟอกอย่างอ่อน และน้ำ ล้างออกด้วยน้ำเย็น และเช็ดให้แห้ง แนะนำให้จุ่มชิ้นงานให้โชกก่อนล้างในน้ำสบู่อุ่น ๆ
  • รอยเปื้อน : สี
    วิธีทำความสะอาด
    สแตนเลส : ล้างออกด้วยสารละลายสี ใช้แปลงไนล่อนนุ่ม ๆ ขัดออก แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็นและเช็คให้แห้ง
  • เปลี่ยนสีเนื่องจากความร้อน
    วิธีทำความสะอาด
    สแตนเลส :ทาครีม (เช่น บรัสโซ) ลงบนแผ่นขัดที่ไม่ได้ทำจากเหล็ก แล้วขัดคราบที่ติดบนสแตนเลสออก ความร้อนขัดไปในทิศทางเดียวกันกับพื้นผิว ล้างออกด้วยน้ำเย็น และเช็ดให้แห้ง
  • รอยเปื้อน : ฉลากและสติ๊กเกอร์
    วิธีทำความสะอาด
    สแตนเลส : แช่ ในน้ำสบู่ร้อนๆ ก่อนจะลอกฉลากและทำความสะอาดกาวที่ติดอยู่ออกด้วยเมทิลแอลกอฮอล์ ( Methylated Spirit) หรือน้ำมันเบนซิน จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสบู่หรือน้ำผสมผงซักฟอก ล้างออกอีกทีด้วยน้ำร้อน เช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาดเนื้อนุ่ม
  • รอยเปื้อน :รอยน้ำ ตะกรัน
    วิธีทำความสะอาด
    สแตนเลส : รอยที่เห็นชัดสามารถลดเลือนได้ด้วยการแช่ไว้ในน้ำส้มสายชู 25% หรือกรดไนตริก 15% จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด ตามด้วยน้ำสบู่หรือน้ำผสมผงซักฟอก และล้างออกอีกครั้งให้สะอาดด้วยน้ำร้อน เช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาดเนื้อนุ่ม
  • รอยเปื้อน : สารแทนนิน จากชาหรือกาแฟ
    วิธีทำความสะอาด
    สแตนเลส : ล้าง ด้วยน้ำร้อนผสมโซดาซักผ้า (โซเดียมไบคาร์บอเนต) จากนั้นล้างตามด้วยน้ำสบู่หรือน้ำผสมผงซักฟอก ล้างออกให้สะอาดด้วยน้ำร้อน เช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาดเนื้อนุ่ม
  • รอยเปื้อน : คราบสนิม
    วิธีทำความสะอาด
    สแตนเลส : แช่ส่วนที่ขึ้นสนิมในน้ำอุ่นผสมสารละลาดกรดไนตริกในสัดส่วน 9:1 เป็นเวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด หรือทาพื้นผิวที่ขึ้นสนิมด้วยสารละลายกรดออกซาลิก ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที จากนั้นล้างออกด้วยน้ำเย็นและเช็ดให้แห้งหรือ ในกรณีของคราบสนิมที่ติดทนและยากต่อการกำจัด อาจต้องใช้เครื่องจักรช่วยขัดทำความสะอาด
การดูแลรักษาสแตนเลส
  • หากไม่ได้ทำความสะอาดเป็นประจำ ควรทำความสะอาดทันทีที่พบรอยเปื้อนและฝุ่น
  • ในการทำความสะอาดควรเริ่มจากวิธีและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่อ่อนที่สุดก่อน เสมอและทดลองทำความสะอาดเป็นบริเวณเล็กๆ ก่อนเพื่อให้มั่นใจถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น
  • ใช้น้ำอุ่นเพื่อช่วยขจัดความมันของน้ำมันหรือจาระบี
  • ในขั้นตอนสุดท้ายของการทำความสะอาด ให้ใช้น้ำสะอาดล้างและเช็ดให้แห้งด้วยผ้าเนื้อนุ่มหรือกระดาษชำระแผ่นใหญ่ทุกครั้ง
  • เมื่อใช้กรดทำความสะอาดสแตนเลส ควรใช้มาตรการป้องกันและระมัดระวังอย่างเหมาะสม
  • ล้างเครื่องใช้ที่ทำจากสแตนเลสทันทีที่เตรียมอาหารเสร็จเสมอ
  • หลีกเลี่ยงรอยเปื้อนที่เกิดจากเหล็กโดยไม่ใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดที่ทำจาก โลหะ หรืออุปกรณ์ที่เคยนำไปทำความสะอาดชิ้นส่วนที่ผลิตจากเหล็กกล้าคาร์บอน (Carbon Steel) มาก่อน
  • กรณีที่ไม่แน่ใจในวิธีทำความสะอาดหรือพบรอยเปื้อนที่ไม่สามารถขจัดออกได้ ให้ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง